การเมือง ของ ทิม ภูริพัฒน์

ทิม ภูริพัฒน์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2480 ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489 (ต่อมาเข้าร่วมกับพรรคสหชีพ)[1] ย้ายมาลงสมัครในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น หลังจากน้นกลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี อีก 3 สมัย ในปี พ.ศ. 2495 และ พ.ศ. 2500 (2 ครั้ง) สังกัดพรรคเศรษฐกร ครั้งหนึ่ง และพรรคสหภูมิ อีกครั้งหนึ่ง

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2491 ทิม ภูริพัฒน์ พร้อมด้วยทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เตียง ศิริขันธ์ ถวิล อุดล และ ฟอง สิทธิธรรม ถูกจับกุมในข้อหา “กบฏแบ่งแยกดินแดน” ซึ่งทั้งหมดถูกปล่อยตัวในชั้นศาล เนื่องจากไม่มีหลักฐาน[2]

ทิม เคยเป็นรองหัวหน้าพรรคเศรษฐกร ในปี พ.ศ. 2498[3]

ทิม ภูริพัฒน์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง ในรัฐบาลของพลโท ถนอม กิตติขจร (ยศขณะนั้น) ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 สั่งราชการกระทรวงศึกษาธิการ[4] ต่อมาวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2501 จึงปรับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[5] และพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2501[6]

ทิม ภูริพัฒน์ จดทะเบียนจัดตั้งพรรคเศรษฐกร ขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2517 โดยเขารับหน้าที่เป็นหัวหน้าพรรค[7]

ใกล้เคียง